top of page
ค้นหา

ช้อปดีมีคืน ปี 2566



ทางภาครัฐได้ทำการอนุมัติมาตรการช้อปดีมีคืน รอบใหม่ ปี 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2566 โดยมาตรการช้อปดีมีคืนรอบใหม่นี้ จะเริ่มใช้สิทธิ์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566


ช้อปดีมีคืน เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย สำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นนิติบุคคล) เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีกำลังซื้อ สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีได้ โดยนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการ มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง ซึ่งรวมกันไม่เกิน 40,000 บาทต่อคน


สามารถใช้สิทธิ์ตามมาตรการช้อปดีมีคืนได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อนใช้สิทธิ์ แต่ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ เพื่อใช้ในการขอลดหย่อนภาษี


เงื่อนไขมาตรการช้อปดีมีคืน

  • ผู้ใช้สิทธิ์ ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ จากการซื้อสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี

  • ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิ์มาตรการนี้ได้

  • ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2566 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น

สินค้าและบริการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้

  • สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือร้านค้าออนไลน์ก็ได้ แต่ต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี VAT ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร

  • หนังสือ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท (ยกเว้นหนังสือประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์) ทั้งนี้ หากเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

  • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบร้านค้าได้ที่ otoptoday

วงเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้

ช้อปดีมีคืน 2566 รอบใหม่นี้ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ถึง 40,000 บาท (รวม VAT) โดยแบ่งสิทธิ์ลดหย่อน ดังนี้

  • ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบกระดาษ หรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ อีก 10,000 บาท จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

  1. สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ

  2. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ

  3. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา

  4. หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์

  5. บริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม

  6. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

  7. ค่าโทรศัพท์และค่าอินเทอร์เน็ต

สำหรับบุคคลธรรมดา

  • เงินได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี) ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้

  • เงินได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 1,500 บาท

  • เงินได้ต่อปี 300,001 – 500,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3,000 บาท

  • เงินได้ต่อปี 500,001 – 750,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 4,500 บาท

  • เงินได้ต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 6,000 บาท

  • เงินได้ต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 7,500 บาท

  • เงินได้ต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 9,000 บาท

  • เงินได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,500 บาท




ดู 43 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page